SCCCRN

"เตรียมทีม ๖ ชุมชนโครงการ CARE" พื้นที่ชุมชนชายฝั่งทะเลสงขลา

  • photo  , 960x540 pixel , 88,938 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 74,842 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 84,505 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 84,483 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 73,697 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 74,238 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 81,618 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 89,025 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 59,336 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 306,323 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 437,653 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 317,008 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 327,699 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 396,352 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 424,826 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 438,350 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 461,347 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 331,975 bytes.

"เตรียมทีม ๖ ชุมชนโครงการ CARE"

วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ประชุมแกนนำโครงการวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองเสริมพลังชุมชนชายฝั่งสงขลา(CARE) ที่จะดำเนินการกับ 6 ชุมชนชายฝั่งสงขลาในเร็วๆนี้ โดยมีผู้เข้าร่วม 23 คนประกอบด้วย ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ทีมมูลนิธิชุมชนสงขลา คุณอภิศักดิ์ ทัศนี (น้ำนิ่ง) ผู้ประสานงานกลุ่ม Beach for life Thailand  และแกนนำชุมชน ณ ห้องประชุมมูลนิธิชุมชนสงขลา พบรูปแบบการไหลของน้ำทะเลเปลี่ยนแปลง

๑.พื้นที่ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด  มี ๑๐ หมู่บ้าน ที่นี่มีพัง(สระน้ำ) ๕๒ พัง ที่เป็นแหล่งเก็บน้ำ โดยมีการปรับภูมิทัศน์พัง และพังใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรเป็นหลัก มี “วัง” คือพื้นที่ที่ติดกับทะเล ได้ถูกเปลี่ยนสภาพไปเป็นการทำบ่อกุ้ง สภาพของน้ำเป็นน้ำกร่อย จุดเด่นของพื้นที่มีป่าชายหาดที่เป็นแนวกันลมมีความยาวประมาณ ๑๐ กิโลเมตร  ปี ๕๓ เกิดผลกระทบหนัก ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเนื่องจากฤดูกาลน้ำทะเลหนุน และพายุ ธรรมชาติในอดีตเมื่อมีพายุจะมีน้ำพัดเข้าบ้าน ความกังวลของพื้นที่คือหากลมและฝนมาพร้อมกันอาจส่งผลกระทบหนักกับชุมชน  หากมีการฟื้นฟูป่าชายหาดระยะทาง ๑๐ กิโลเมตรได้จะทำให้เป็นพื้นที่แนวกันลมและเป็นแหล่งอาหารให้กับชุมชน เช่น การปลูกต้นขี้เหล็ก สะเดา เสริมเป็นป่ากินได้ และอาจพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ด้วย

๒.พื้นที่ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมีน้อย สิ่งที่กระทบมากคือลม ทำให้กระทบต่อการทำมาหากินของชาวประมง รายได้น้อยลง ปีนี้พบว่าน้ำในทะเลร้อนมากขึ้นปลาลดลง ในชุมชนมีการทำธนาคารปู สิ่งที่มีความพยายามทำคือการเสริมสร้างอาชีพรองเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจครัวเรือน มีกลุ่ม ๒ กลุ่มสมาชิก ๖๖ คน

๓.พื้นที่ม่วงงาม อำเภอสิงหนคร ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ค่อนข้างรุนแรง การแก้ปัญหา ซึ่งการแก้ปัญหาป้องกันการกัดเซาะบ้านเรือนยังไม่มี ปีนี้อาจส่งผลกระทบมาก  พบรูปแบบการไหลของน้ำทะเลเปลี่ยนไป ครึ่งปีหลังน้ำไม่ไหลตามกระแสน้ำขึ้นน้ำลง น้ำมีการยกตัวขึ้นวิ่่งตรงเข้าออกกับชายหาด พื้นที่บริเวณจากเกาะแมวจนถึงพังสาย ทิศทางกระแสน้ำและทางน้ำเปลี่ยนไปมาก ซึ่งกระแสน้ำลักษณะนี้หากเกิดพายุจะทำให้เกิดคลื่นแรงมาก อาจจะส่งผลกระทบต่อการกัดเซาะที่รุนแรงมากขึ้น

๔.พื้นที่บ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา  พื้นที่พบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณที่มีการเติมทราย กัดเซาะจนถึงโค้งถนนเก้าเส้ง กรมโยธาธิการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการทิ้งหินบริเวณหน้าชุมชน ซึ่งทำให้เกิดการกัดด้านทิศเหนือ ส่งผลให้ต้นสนล้ม ชายหาดด้านทิศเหนือหาดหายไป เทศบาลแก้ไขโดยการใช้กระสอบทรายต่อเนื่องจนถึงหน้ามทร.ศรีวิชัย และเกิดการกัดเซาะต่อไปจนถึงวงเวียน จึงมีโครงการดูดทรายชายหาด บริเวณหัวสนหาดเก้าเส้งจนถึงสนามมวย แต่มีการทิ้งงานไม่สามารถดำเนินงานโครงการต่อได้ ตอนนี้สภาพการกัดเซาะจึงกลับมาเหมือนเดิม

๕.พื้นที่ตลิ่งชัน อำเภอจะนะ  มีปัญหาการกัดเซาะบริเวณตลิ่งที่มีความชัน ช่วงหน้ามรสุมจะมีประมาณ ๓-๔ เดือน การเกิดการกัดเซาะส่วนมากจะเป็นมรสุมจากภาคตะวันออก  ช่วงนี้เริ่มมีมรสุมเข้า ปัญหาคือเรือประมงไม่สามารถจอดได้เพราะคลื่นจะกระทบตลิ่ง เริ่มมีการนำเรือไปไว้ที่ปากบางที่สะกอม ซึ่งการหนีคลื่นเกิดขึ้นประมาณ ๖-๘ ปีแล้ว ซึ่งเดือนร้อนทุกปี ก่อนที่จะมีเขื่อนผันน้ำที่สะกอม เนื่องจากน้ำตื้นเขิน และต้องมีการขุดให้น้ำลึก รัฐบาลจึงคิดโครงการสร้างเขื่อนผันน้ำเข้าคลอง ๓๐ ปีที่ผ่านมา ทำให้การกัดเซาะชายฝั่งเริ่มมากขึ้นประมาณ ๗ กิโลเมตร บางพื้นที่มีการกัดเซาะทำให้ตลิ่งสูง ปัจจัยสำคัญคือลม พัดเอาทรายริมทะเลออก ทำให้ต้นสนริมทะเลล้มลง บริเวณลานหอยเสียบเป็นพื้นที่เสียหายมาก ในพื้นที่สะกอม มีกลุ่มนักรบผ้าถุงเป็นกลุ่มท่องเที่ยว และมีผลิตภัณฑ์จากอาหารทะเล เช่น ข้าวยำดอกลาย กิจกรรมท่องเที่ยวเกาะขาม โฮมสเตย์ เป็นการท่องเที่ยวผสมผสานกับอาชีพประมง

แลกเปลี่ยนข้อมูลและให้ข้อเสนอแนะแนวทางการทำงาน ในการพัฒนาชุมชนชายฝั่ง เช่น พบขยะ และโฟมจำนวนมาก ทำอย่างไรให้นำขยะ หรือโฟมไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่มากขึ้น การใช้ประโยชน์ชายหาดในฐานะพื้นที่สาธารณะ การทำงานในภาพรวมของตำบล การศึกษาพันธุ์ไม้พื้นถิ่นชายหาดว่าแต่ละพื้นที่มีพันธุ์ไม้อะไรบ้าง เพื่อนำมาต่อยอด ใช้เป็นมาตรการสีเขียวรับมือผลกระทบ

แนวทางการทำงานต่อไป แต่ละพื้นที่ตำบลจัดตั้งกลไกทีม จำนวน ๑๕ คน ประกอบด้วยหัวหน้าทีม เลขา/ผู้ประสานงาน การเงิน มีตัวแทนเยาวชนที่จะร่วมเก็บข้อมูล มีตัวแทนเชิงพื้นที่หมู่บ้าน กลุ่มอาชีพ โดยประสานหน่วยงานและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม(ถ้ามี)

Relate topics