Topic List
"อำเภอหาดใหญ่เตรียมใช้งานระบบ line OA หาดใหญ่สู้ภัยน้ำท่วม"
14 พย.67 อำเภอหาดใหญ่ผนึกกำลังร่วมกับภาคเอกชน ประชาสังคมในนามเครือข่ายสงขลาสู้ภัย เตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยในรอบปี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับตัวแทน อปท.ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ หัวหน้าส่วนราชการส่วนภูมิภาคระดับอำเภอ ตัวแทนเครือข่าย ณ ห้องประชุมชั้น3 ที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ โดยมีนายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอหาดใหญ่เป็นประธานการประชุม
โดยนายเอก ได้กล่าวถึงการรับมืออุทกภัยของเมืองหาดใหญต้องมองในภาพรวมให้เห็นทิศทางการไหลของน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา หาดใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ และต้องสัมพันธ์กับอีกหลายอำเภอที่อยู่ต้นน้ำและรอบข้าง ในอนาคตควรมีแผนแม่บทในการรับมืออุทกภัยอย่างรอบด้าน พร้อมทั้งชี้ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกอีกด้วย
กิจกรรมหลักนอกจากรับฟังความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ โครงการชลประทานสงขลา ศูนย์อุตุนิยมวิทยาฯ แล้ว ยังได้รับทราบแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ภาคประชาสังคมที่ได้พัฒนาระบบบริหารความช่วยเหลือ Line OA หาดใหญ่สู้ภัยน้ำท่วมขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นระบบเสริมให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสร้างช่องทางให้ประชาชนได้สามารถร้องขอความช่วยเหลือในขณะเกิดเหตุโดยมีการจัดระบบข้อมูลอย่างเป็นระบบ ให้สามารถคัดกรองเชิงพื้นที่ มีพิกัดให้สามารถติดต่อได้ง่าย และประสานส่งต่อให้กับทีมปฏิบัติการช่วยเหลือขององค์กร และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมี Admin ทำหน้าที่ในการประสานรับส่งข้อมูลดังกล่าวไปดำเนินการร่วมกัน
ผู้ใช้งานจะมี 4 ฝ่าย
1)Admin กลาง ประกอบด้วยอำเภอหาดใหญ่ ปภ.จังหวัด อบจ. ชลประทาน ศูนย์อุตุฯ องค์กรเอกชนและประชาสังคมในนามเครือข่ายสงขลาสู้ภัย
2)Admin องค์กร นั่นคือ หน่วยงานในพื้นที่ อาทิ อปท.ที่สมัครใจเข้าร่วม สสอ./รพ.สต./อสม. ท้องถิ่นอำเภอ เกษตรอำเภอ สถานีตำรวจ กำนันผญ. เป็นต้น ทำหน้าที่ประสานรับส่งข้อมูลจากประชาชนส่งต่อให้กับทีมงานในการให้ความช่วยเหลือ
3)ทีมงานที่เป็นสมาชิกขององค์กร โดย Adminองค์กรสามารถเพิ่มเข้ามาในระบบ
4)ประชาชนผู้ประสบภัย
ทั้งนี้นายเอกยังกล่าวสนับสนุน และให้กำลังใจทุกฝ่ายที่ได้เริ่มต้นการพัฒนาเชิงระบบ โดยอำเภอหาดใหญ่จะเป็นฝ่ายรับผิดชอบ โดยมีทีมงานปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคงและเจ้าหน้าที่รวมถึงปลัดอำเภอประจำตำบลจะเข้ามาประสานการทำงานในฐานะ Admin กลาง และประสานการทำงานกับ Adminองค์กรอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะของอปท.ในพื้นที่ ซึ่งระบบดังกล่าวนี้เป็นระบบเสริม ใช้งานควบคู่กับระบบหลักของแต่ละหน่วยงานที่มี และเป็นไปตามความสมัครใจในการใช้งาน
ที่ประชุมได้ร่วมกันซักซ้อมความเข้าใจในการใช้ระบบ มีการสาธิตการใช้งานกับมูลนิธิอาสาสร้างสุข และร่วมให้ข้อเสนอแนะและข้อสังเกตุในการใช้งาน เนื่องจากเป็นระบบใหม่และสัมพันธ์กับการทำงานร่วมกันหลายฝ่าย ซึ่งยังแยกส่วนกันดำเนินการ และอาจมีข้อกังวลในส่วนการนำข้อมูลไปสู่การให้ความช่วยเหลือ ผู้เข้าร่วมจะนำแนวทางทั้งหมดไปหารือกับผู้รับผิดชอบเชิงนโยบายในหน่วยงานของตน อำเภอหาดใหญ่และทีมงานความร่วมมือจะนำข้อเสนอไปพัฒนาระบบการทำงานต่อไป โดยมีทม.คอหงส์จะเป็นอปท.นำร่องที่จะให้ทีมกลางลงไปเสนอแนะการใช้งานและพัฒนาระบบการทำงานร่วมกัน
ก่อนที่จะปิดการประชุม ที่ประชุมได้จัดตั้ง Admin และสร้างกลุ่มไลน์เพื่อการติดต่อประสานงานร่วมกัน
"เตรียมทีม ๖ ชุมชนโครงการ CARE"
วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ประชุมแกนนำโครงการวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองเสริมพลังชุมชนชายฝั่งสงขลา(CARE) ที่จะดำเนินการกับ 6 ชุมชนชายฝั่งสงขลาในเร็วๆนี้ โดยมีผู้เข้าร่วม 23 คนประกอบด้วย ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ทีมมูลนิธิชุมชนสงขลา คุณอภิศักดิ์ ทัศนี (น้ำนิ่ง) ผู้ประสานงานกลุ่ม Beach for life Thailand และแกนนำชุมชน ณ ห้องประชุมมูลนิธิชุมชนสงขลา พบรูปแบบการไหลของน้ำทะเลเปลี่ยนแปลง
๑.พื้นที่ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด มี ๑๐ หมู่บ้าน ที่นี่มีพัง(สระน้ำ) ๕๒ พัง ที่เป็นแหล่งเก็บน้ำ โดยมีการปรับภูมิทัศน์พัง และพังใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรเป็นหลัก มี “วัง” คือพื้นที่ที่ติดกับทะเล ได้ถูกเปลี่ยนสภาพไปเป็นการทำบ่อกุ้ง สภาพของน้ำเป็นน้ำกร่อย จุดเด่นของพื้นที่มีป่าชายหาดที่เป็นแนวกันลมมีความยาวประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ปี ๕๓ เกิดผลกระทบหนัก ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเนื่องจากฤดูกาลน้ำทะเลหนุน และพายุ ธรรมชาติในอดีตเมื่อมีพายุจะมีน้ำพัดเข้าบ้าน ความกังวลของพื้นที่คือหากลมและฝนมาพร้อมกันอาจส่งผลกระทบหนักกับชุมชน หากมีการฟื้นฟูป่าชายหาดระยะทาง ๑๐ กิโลเมตรได้จะทำให้เป็นพื้นที่แนวกันลมและเป็นแหล่งอาหารให้กับชุมชน เช่น การปลูกต้นขี้เหล็ก สะเดา เสริมเป็นป่ากินได้ และอาจพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ด้วย
๒.พื้นที่ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมีน้อย สิ่งที่กระทบมากคือลม ทำให้กระทบต่อการทำมาหากินของชาวประมง รายได้น้อยลง ปีนี้พบว่าน้ำในทะเลร้อนมากขึ้นปลาลดลง ในชุมชนมีการทำธนาคารปู สิ่งที่มีความพยายามทำคือการเสริมสร้างอาชีพรองเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจครัวเรือน มีกลุ่ม ๒ กลุ่มสมาชิก ๖๖ คน
๓.พื้นที่ม่วงงาม อำเภอสิงหนคร ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ค่อนข้างรุนแรง การแก้ปัญหา ซึ่งการแก้ปัญหาป้องกันการกัดเซาะบ้านเรือนยังไม่มี ปีนี้อาจส่งผลกระทบมาก พบรูปแบบการไหลของน้ำทะเลเปลี่ยนไป ครึ่งปีหลังน้ำไม่ไหลตามกระแสน้ำขึ้นน้ำลง น้ำมีการยกตัวขึ้นวิ่่งตรงเข้าออกกับชายหาด พื้นที่บริเวณจากเกาะแมวจนถึงพังสาย ทิศทางกระแสน้ำและทางน้ำเปลี่ยนไปมาก ซึ่งกระแสน้ำลักษณะนี้หากเกิดพายุจะทำให้เกิดคลื่นแรงมาก อาจจะส่งผลกระทบต่อการกัดเซาะที่รุนแรงมากขึ้น
๔.พื้นที่บ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา พื้นที่พบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณที่มีการเติมทราย กัดเซาะจนถึงโค้งถนนเก้าเส้ง กรมโยธาธิการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการทิ้งหินบริเวณหน้าชุมชน ซึ่งทำให้เกิดการกัดด้านทิศเหนือ ส่งผลให้ต้นสนล้ม ชายหาดด้านทิศเหนือหาดหายไป เทศบาลแก้ไขโดยการใช้กระสอบทรายต่อเนื่องจนถึงหน้ามทร.ศรีวิชัย และเกิดการกัดเซาะต่อไปจนถึงวงเวียน จึงมีโครงการดูดทรายชายหาด บริเวณหัวสนหาดเก้าเส้งจนถึงสนามมวย แต่มีการทิ้งงานไม่สามารถดำเนินงานโครงการต่อได้ ตอนนี้สภาพการกัดเซาะจึงกลับมาเหมือนเดิม
๕.พื้นที่ตลิ่งชัน อำเภอจะนะ มีปัญหาการกัดเซาะบริเวณตลิ่งที่มีความชัน ช่วงหน้ามรสุมจะมีประมาณ ๓-๔ เดือน การเกิดการกัดเซาะส่วนมากจะเป็นมรสุมจากภาคตะวันออก ช่วงนี้เริ่มมีมรสุมเข้า ปัญหาคือเรือประมงไม่สามารถจอดได้เพราะคลื่นจะกระทบตลิ่ง เริ่มมีการนำเรือไปไว้ที่ปากบางที่สะกอม ซึ่งการหนีคลื่นเกิดขึ้นประมาณ ๖-๘ ปีแล้ว ซึ่งเดือนร้อนทุกปี ก่อนที่จะมีเขื่อนผันน้ำที่สะกอม เนื่องจากน้ำตื้นเขิน และต้องมีการขุดให้น้ำลึก รัฐบาลจึงคิดโครงการสร้างเขื่อนผันน้ำเข้าคลอง ๓๐ ปีที่ผ่านมา ทำให้การกัดเซาะชายฝั่งเริ่มมากขึ้นประมาณ ๗ กิโลเมตร บางพื้นที่มีการกัดเซาะทำให้ตลิ่งสูง ปัจจัยสำคัญคือลม พัดเอาทรายริมทะเลออก ทำให้ต้นสนริมทะเลล้มลง บริเวณลานหอยเสียบเป็นพื้นที่เสียหายมาก ในพื้นที่สะกอม มีกลุ่มนักรบผ้าถุงเป็นกลุ่มท่องเที่ยว และมีผลิตภัณฑ์จากอาหารทะเล เช่น ข้าวยำดอกลาย กิจกรรมท่องเที่ยวเกาะขาม โฮมสเตย์ เป็นการท่องเที่ยวผสมผสานกับอาชีพประมง
แลกเปลี่ยนข้อมูลและให้ข้อเสนอแนะแนวทางการทำงาน ในการพัฒนาชุมชนชายฝั่ง เช่น พบขยะ และโฟมจำนวนมาก ทำอย่างไรให้นำขยะ หรือโฟมไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่มากขึ้น การใช้ประโยชน์ชายหาดในฐานะพื้นที่สาธารณะ การทำงานในภาพรวมของตำบล การศึกษาพันธุ์ไม้พื้นถิ่นชายหาดว่าแต่ละพื้นที่มีพันธุ์ไม้อะไรบ้าง เพื่อนำมาต่อยอด ใช้เป็นมาตรการสีเขียวรับมือผลกระทบ
แนวทางการทำงานต่อไป แต่ละพื้นที่ตำบลจัดตั้งกลไกทีม จำนวน ๑๕ คน ประกอบด้วยหัวหน้าทีม เลขา/ผู้ประสานงาน การเงิน มีตัวแทนเยาวชนที่จะร่วมเก็บข้อมูล มีตัวแทนเชิงพื้นที่หมู่บ้าน กลุ่มอาชีพ โดยประสานหน่วยงานและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม(ถ้ามี)
38 องค์กรภาคประชาชนตื่นตัวจับมือภาครัฐรับเหตุอุทกภัยเมืองหาดใหญ่
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 "เครือข่ายสงขลาสู้ภัย" โดยนายอรุณชัย ศิริมหาชัย ประธานมูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊งเป็นประธานเครือข่ายจัดประชุมเชิงปฏิบัติการและแถลงข่าวเพื่อนำเสนอระบบบริหารความช่วยเหลือที่ภาคเอกชนร่วมกันพัฒนาขึ้นรองรับเหตุอุทกภัยเมืองหาดใหญ่
มีนายวิทยา จันทน์เสนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 2 มูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
มีผู้เข้าร่วมที่เป็นตัวแทนจากภาครัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ผู้บริหารอปท.ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ อาทิ นายสาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ภาคเอกชน สมาคม มูลนิธิ กว่า 100 คนเข้าร่วม
นายวิทยา จันทน์เสนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และปลัดอำเภอหาดใหญ่กล่าวถึงการเตรียมพร้อมของหน่วยงานระดับจังหวัด อำเภอ ด้วยตระหนักถึงความเสี่ยงของอุทกภัยที่อาจเกิดความรุนแรงจากฝนหนักในช่วงเดือนตุลาคมถึงมกราคม และความต้องการสนับสนุนการทำงานเชิงบูรณาการร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ขณะที่นายสาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ได้กล่าวยืนยันถึงความพร้อมของเทศบาลในการรับมือ มีการขุดลอก การซ้อมแผน การจัดวาง คน อุปกรณ์เตรียมรับมืออย่างเต็มที่
ทั้งนี้ระบบที่ภาคประชาชนพัฒนาขึ้นเกิดจากความต้องการมีส่วนร่วม โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากเหตุอุทกภัยใหญ่และเพิ่มประสิทธิภาพระบบการช่วยเหลือประชาชนขณะเกิดเหตุ จะเป็นระบบเสริมสนับสนุนการทำงานของภาครัฐและภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มต้นระบบที่อำเภอหาดใหญ่ ในส่วนของระบบมีบ.อินเตอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) สนับสนุนให้ใช้ server เพื่อรองรับการใช้งาน
ดร.สมพร สิริโปราณานนท์ ประธานมูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(SCCCRN) นำเสนอระบบเตือนภัยล่วงหน้า ด้วยแนวคิด "เตือนภัยด้วยตนเอง" www.Hatyaicityclimate.org เฝ้าระวังระดับน้ำในคลองอู่ตะเภา ณ จุดสำคัญ ผ่านกล้อง CCTV ที่จะมีภาพ 24 ชม.ดูระดับน้ำต้นน้ำของหาดใหญ่ทั้งฝั่งนาหม่อม คอหงส์ ควนลัง สะเดา และบางกล่ำ สอดคล้องกับเงื่อนไขการยกธงเหลือง ธงแดงของชุดปฏิบัติการประเมินสถานการณ์น้ำและดินโคลนถล่มจังหวัด
นายกฤตโชค ชัยพัฒนาการ บ.ซิตี้วาร์ไรตี้ คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด ผู้พัฒนาระบบบริหารความช่วยเหลือ ระบบ Line OA "หาดใหญ่สู้ภัยน้ำท่วม" นำเสนอเมนูหลักของระบบ ประกอบด้วยการดูข่าว/ดูกล้องของระบบเตือนภัย การรายงานข่าวสำคัญจากหน่วยงาน การรวบรวมข้อมูลแจ้งเหตุน้ำท่วมจากเครือข่าย การขอความช่วยเหลือในกรณีเกิดเหตุ โดยระบบจะรายงานข้อมูลทั้งรูปแบบข้อความและผ่านแผนที่ โดยวางตัวผู้ใช้งานประกอบด้วย
1)Admin ทีมกลางที่เป็นหน่วยงานแกนนำ
2)Admin ของหน่วยงานรัฐที่เป็นหน่วยงานหลักในการรับมือเหตุอุทกภัย ได้แก่ ปภ.เขต ปภ.จังหวัด อบจ. ชลประทาน ทรัพยากรน้ำที่ 8 อปท.ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ สาธารณสุข ไฟฟ้า ประปา ตำรวจ ทหาร รวมถึงสมาคม มูลนิธิกู้ชีพ กู้ภัย Admin ทำหน้าที่รับข้อมูลไปประสานส่งต่อตามระบบงานของหน่วยงาน รวมถึงนำข้อมูลจากการแจ้งเหตุผ่านช่องทางหรือระบบของตน นำเสนอในระบบเพื่อให้เห็นภาพรวมร่วมกัน Admin ยังสามารถเพิ่มทีมงานเข้ามาเพื่อนำข้อมูลความต้องการความช่วยเหลือไปประสานส่งต่อลูกทีมให้ความช่วยเหลือหรือประสานหน่วยงานอื่นได้อีกด้วย ทั้งนี้ Adminจะมีระบบยืนยันตัวตนเพื่อให้มีความชัดเจนในแง่ตัวบุคคล
3)ประชาชนผู้ประสบภัย สามารถติดตั้ง line OA จากนั้นใช้งานแจ้งเหตุในช่วงเกิดภัยได้ทันที
ระบบจะประมวลผลข้อมูลสำคัญ จัดระบบคัดกรองความต้องการ รวมถึงสนับสนุนการทำงานในพื้นที่ระดับตำบล และระดับหน่วยงาน สามารถเรียกดูข้อมูลที่แจ้งเหตุเข้ามาจนกระทั่งปิดเคสการให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้ทางอำเภอหาดใหญ่ จะประสาน Admin ของหน่วยงานต่างๆมาซักซ้อมแนวปฏิบัติร่วมกันอีกครั้ง
ที่ประชุมเห็นชอบและเร่งประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนให้เข้าใช้ระบบ นอกจากนั้นยังได้นำเสนอแนวทางการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวรวมถึงการสื่อสารผ่านมัคคุเทศน์ การสื่อสารกับชาวจีนที่เป็นนักท่องเที่ยวหลัก การจัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือภาคประชาสังคม โดยมีหน่วยงานสำคัญได้แก่ มูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง ศูนย์ช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร้านช่องเขาซีฟู๊ด ทำงานร่วมกับทีมช่วยเหลือและมีสถานีวิทยุ ม.อ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สมาคมอาสาสร้างสุข ไทยพีบีเอส หอการค้าจังหวัด เป็นต้น สามารถรวมพลอาสาสมัคร มาเสริมหรือประสานอาสาสมัครภายนอกพื้นที่ สนับสนุนสื่อสารสาธารณะ บริหารการช่วยเหลือร่วมกับกลไกหลักของหน่วยงาน รวมถึงรองรับการเชื่อมโยงกับ platform อื่นๆ อาทิ เว็บไซต์ สถานีวิทยุ วิทยุสมัครเล่นและสายด่วน 1663, 1669 เป็นต้น
หมายเหตุ เครือข่ายสงขลาสู้กัย ประกอบด้วยองค์กรภาคเอกชนและประชาสังคมในพื้นที่หาดใหญ่ ได้แก่ 1.มูลนิธิมิตรภาพสามัคคี(ท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง) 2.มูลนิธิเครือข่ายเมืองในภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Southern Cities Climate Change Reslience Network - SCCCRN) 3.สมาคมไทย-จีน จังหวัดสงขลา 4.มูลนิธิโรงเจเต๋าบ้อเก็ง /ศูนย์กู้ชีพกู้ภัยมัชฌิมา 5.หอการค้าจังหวัดสงขลา 6.สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา 7.ชมรมธนาคารจังหวัดสงขลา 8.สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา 9.สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา 10.สมาคมเอสเอ็มอีจังหวัดสงขลา 11.สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดสงขลา 12.สภาเศรษฐกิจหาดใหญ่ 13.สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดสงขลา 14.สมาคมการค้าธุรกิจยานยนต์จังหวัดสงขลา 15.สมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา 16.บริษัท สงขลาพัฒนาเมือง จำกัด 17. ชมรมร้านทองหาดใหญ่ 18.ชมรมนักธุรกิจหาดใหญ่ 19.เครือข่ายนักธุรกิจ SMEFAN สงขลา 20.สมาคมผู้ประกอบการบริการเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา 21.กลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่หอการค้าจังหวัดลงขลา (YEC สงขลา) 22.บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) 23.บริษัท ชิตี้วาไรตี้ คอร์เปอเรชั่น จำกัด 24.มูลนิธิชุมชนสงขลา/สมัชชาสุขภาพจังหวัด 25.มูลนิธิอนุรักษ์ป่าต้นน้ำสงขลา 26.มูลนิธิอาสาสร้างสุข 27.สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา 28.ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา 29.สมาคมชาวเหนือ-อีสาน จังหวัดสงขลา 30.สมาคมพัฒนากีฬาหาดใหญ่ 31.สมาคมศูนย์รับสร้างบ้านภาคใต้ - HSA 32.สมาคมการท่องเที่ยวและธุรกิจบันเทิง จังหวัดสงขลา 33.สงขลาโฟกัส 34.สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่FM.88 35.ครูใหญ่ ไทยคอม Fm92.5 นวัตกรรมสงขลา24 36.Tuber Hatyai 37.สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคใต้ตอนล่าง 38.สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)
เครือข่ายสงขลาสู้ภัย มีนายอรุณชัย ศิริมหาชัย ประธานมูลนิธิมิตรภาพสามัคคีเป็นประธานเครือข่าย ดร.สมพร สิริโปราณานนท์ ประธานมูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(scccrn)เป็นรองประธาน และมีเลขานุการร่วม ประกอบด้วย ดร.ไพโรจน์ ชัยจีระธิกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา นายวิฑูรย์ ตันติพิมลพันธ์ ผู้แทนสภาเศรษฐกิจหาดใหญ่ นายชาคริต โภชะเรือง ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนสงขลา/สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา นายภูชิชญ์ ยงเกียรติไพบูลย์ เลขานุการมูลนิธิมิตรภาพสามัคคีท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง
แอดline OA "หาดใหญ่สู้ภัยน้ำท่วม" ได้ที่ https://lin.ee/Sl3NGVS
ร่วมสร้างสรรค์สังคม โดยมูลนิธิ SCCCRN มูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ้ง และเครือข่ายสงขลาสู้ภัย
"หาดใหญ่สู้ภัยน้ำท่วมภาคประชาชน"
วันที่ 22 ตุลาคม 2567 เครือข่ายสงขลาสู้ภัยน้ำท่วม ซึ่งเกิดขึ้นจากความตื่นตัวและร่วมมือของภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และเครือข่ายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 24 องค์กรจัดประชุมกับองค์กรความร่วมมือเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาระบบ line OA สู้ภัยน้ำท่วม เพื่อเสริมการทำงานให้กับภาครัฐและหารือแนวทางความร่วมมือในการช่วยเหลือในยามเกิดอุทกภัย(หากมี)เป็นการเตรียมระบบร่องรับ โดยมีดร.สมพร สิริโปราณานนท์ ทำหน้าที่ประธานการประชุม ณ ห้องเพชรพิรุณ รร.หาดใหญ่นิวซีซั่น
ที่ประชุมได้แนะนำระบบการเฝ้าระวังเตือนภัย www.hatyaicityclimate.org ในการเตือนภัยโดยไม่ต้องเตือน และระดมความเห็นในการพัฒนา line OA สู้ภัยน้ำท่วม
1.การใช้งานระบบ ที่จะเป็นระบบภาคประชาชนเสริมหนุนการทำงานให้กับกลไกหลักของภาครัฐ ได้แก่ อปท. อำเภอ จังหวัด ประกอบด้วยเมนูสำคัญ ได้แก่
1)การแจ้งข่าวสำคัญที่เป็นทางการ
2)การเข้าถึงข้อมูลพื้นฐานเพื่อการรับมือ ได้แก่ เบอร์โทรหน่วยงานสำคัญ จุดจอดรถ จุดอพยพ
3)รายชื่อองค์กรความร่วมมือ
4)การแจ้งจุดอุดตัน และมีเมนูหลัก ได้แก่ การแจ้งจุดน้ำท่วม และการขอความช่วยเหลือ โดยปชส.ให้ประชาชนใช้ระบบของหน่วยงานเป็นหลัก ส่วนระบบนี้่เป็นส่วนเสริมเติมเต็มกันและกัน
2.ผู้ใช้งานระบบ ประกอบด้วย
1)Admin ทีมกลาง
2)Admin องค์กรความร่วมมือ
3)สมาชิกในทีมขององค์กรความร่วมมือ ที่ Admin จะดึงเข้ามาในกลุ่ม
4)ประชาชนทั่วไป
ที่ประชุมหาข้อสรุปที่เป็นประเด็นถกเถียงในกลุ่มพัฒนาระบบ ได้แก่ การยืนยันตัวตนผ่าน OTP ที่จะให้มีเฉพาะเครือข่ายแจ้งเหตุ ประชาชนทั่วไปไม่ต้องใช้ ระบบจะนำเสนอรายงานผ่านการปักหมุดที่แสดงรายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร ภาพ ที่เฉพาะ Admin ในระบบจะเห็นข้อมูลส่วนบุคคล ประชาชนทั่วไปจะเห็นหมุดแสดงผลในภาพรวม ที่จะมีการออกรายงานโดยมีเงื่อนไขกำกับช่วงเวลาแสดงผล และมีระบบส่งต่อภายใน Admin ด้วยกัน ยกเว้นการช่วยเหลือเรื่องน้ำ อาหาร เสื้อผ้า ที่จะเห็นข้อมูลทั้งหมด
หลังจากนี้ ดำเนินการ
1)แต่ละองค์กรความร่วมมือไปจัดตั้ง Admin องค์กรละ 2 คน ส่งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรมาให้ทีมกลาง พร้อมนัดหมายประชุม วันที่ 1 พย.เวลา บ่าย (สถานที่รอประสาน)เพื่อนำเข้าระบบและอนุมัติสิทธิ์ โดยประสานอำเภอ อบจ./ปภ.จังหวัดร่วมดำเนินการ ประสานตัวแทนโรงเรียน ธนาคาร โรงแรม ศูนย์การค้า สถานประกอบการ เข้าร่วมซักซ้อมการใช้งานระบบ
-การทำงานกับกลไกท้องถิ่น อำเภอ
-การจัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือภาคประชาชน
-การซักซ้อมเสมือนจริงผ่านระบบ
-การเดินสายประชาสัมพันธ์หรือขอความร่วมมือการใช้ระบบผ่านโรงเรียน มหาวิทยาลัย เพื่อให้เยาวชนเป็นผู้ใช้งานหลัก
2)MOU พร้อมแถลงข่าวความร่วมมือ ให้เห็นพลังของภาคเอกชน ภาคประชาสังคมที่มีส่วนร่วมไปเสริมการทำงานของภาครัฐ
3)เข้าพบผู้ว่า นำเสนอระบบและขอคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานที่จะมีมูลนิธิมิตรภาพสามัคคีเป็นประธาน มีมูลนิธิ Scccrn สภาอุตสาหกรรม ม.อ. เป็นรองประธาน มีฝ่ายเหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ มีเลขาร่วมเป็นผู้แทนจาก 3 องค์กร ได้แก่ มูลนิธิชุมชนสงขลา สภาเศรษฐกิจหาดใหญ่ และหอการค้าจังหวัด
องค์กรความร่วมมือ
1.มูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง 2.มูลนิธิ SCCCRN 3.หอการค้าจังหวัดสงขลา 4.สภาเศรษฐกิจหาดใหญ่ 5.สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จ.สงขลา 6.ชมรมนักธุรกิจหาดใหญ่ 7.บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)(INET) 8.บริษัท ชิตี้วาไรตี้ คอร์เปอเรชั่น จำกัด 9.มูลนิธิอนุรักษ์ป่าต้นน้ำสงขลา 10.สงขลาโฟกัส 11.สมาคมอาสาสร้างสุข 12.สถานีวิทยุ ม.อ.13.ครูใหญ่ ไทยคอม 14.เทศบาลนครหาดใหญ่ 15.เทศบาลเมืองควนลัง 16.เทศบาลเมืองคลองแห 17.เทศบาลเมืองคอหงส์ 18.เทศบาลตำบลพะตง 19.สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคใต้ตอนล่าง Depa 20.ศูนย์กู้ชีพกู้ภัยมัชฌิมา 21.อบจ.สงขลา 22 ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. 23.มูลนิธิชุมชนสงขลา 24.ปภ.จังหวัด 25.ปภ.เขต12
"เสวนาหาดใหญ่เข้มแข็ง...สู้ภัยน้ำท่วม" ครั้งที่ 15
วันที่ 22 ตุลาคม 2567 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นโต้โผใหญ่ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดเสวนา "รวมพลังหาดใหญ่สู้ภัยน้ำท่วม ร่วมสร้างความตระหนักอย่างยั่งยืน" กระตุ้นเตรียมความพร้อมการรับมืออุทกภัยที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นในปีนี้ ณ โรงแรมนิวซีซั่ม หาดใหญ่ โดยมีนายวิทยา จันทน์เสนะ รองผู้ว่าฯมาเป็นประธานเปิดงาน มีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน
ช่วงเสวนา ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ให้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้ทบทวนข้อมูลฝนในรอบ 30 ปีพบว่า
1)ค่าเฉลี่ยต่อปีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม จำนวนวันที่ฝนตกก็มากขึ้น และมีความเข้มหรือปริมาณฝนที่ตกแต่ละครั้งมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อรวมกับลานียา ทำให้เชื่อว่าปีนี้ฝนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงการเกิดพายุโซนร้อนจะมีโอกาสเกิดเพิ่มขึ้นอีกด้วย
2)ปีนี้ฝนจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีอิทธิพลทำให้เกิดน้ำท่วมมาถึงลุ่มน้ำอู่ตะเภา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิด ทั้งที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังไม่เริ่มต้น
3)การตกของฝนต่อเนื่องไปถึงเดือนมกราคม โดยทั้งปริมาณ จำนวนวัน และความเข้มของฝนเพิ่มขึ้น และเมื่อมาวิเคราะห์ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำให้พื้นที่รับน้ำน้อยลง ทำให้ปีนี้มีแนวโน้มจะเกิดอุทกภัยได้มากขึ้น
เช่นเดียวกับข้อมูลจากศูนย์วิจัยภัยพิบัติธรรมชาติฯม.อ. บอกว่า ฝนเปลี่ยนไป การใช้ประโยชน์ที่ดินเปลี่ยนไป เมืองขยายตัวมีการถมที่มากขึ้น ป่าลดลง พื้นที่เกษตรลดลง เกิดชุมชนย่อยมากขึ้น กลไกระดับจังหวัดมีทีมปฏิบัติการประเมินสถานการณ์น้ำในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ส่งต่อข้อมูลให้กับจังหวัด หากเกิดเหตุ ม.อ.จะเป็นจุดที่จอดรถ ศูนย์อพยพ และศูนย์ให้ความช่วยเหลือ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้ข้อมูลการเตรียมพร้อม ได้แก่ ชลประทาณ ที่ใช้คลองร.1-ร.6 ในการบริหารน้ำ การพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำ การเฝ้าระวังระดับน้ำในคลองอู่ตะเภาและคลองร.1, ทรัพยากรน้ำที่ 8 มีสถานีเตือนภัยในพื้นที่ต้นน้ำ 16 สถานี พร้อม cctv ที่สะพานหน้าวัดหาดใหญ่ใน, ปภ.เขต 12 ใช้กฏหมาย พรบ.ปภ.50 และแผนปภ.ชาติ 2564-2670 เป็นเครื่องมือในการบริหารภัย และทน.หาดใหญ่ นำเสนอระบบระบายน้ำ ในการดูแลพื้นที่เสี่ยงที่มี 24 จุด การขุดลอกคูคลอง การดูแลกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะผู้ป่วย การใช้บ้านพี่เลี้ยงในชุมชนที่มี 90 หลังเป็นจุดอพยพย่อยใน 35 ชุมชน การเตรียมศูนย์อพยพหลักร่วมกับโรงเรียนเทศบาลและโรงเรียนใหญ่ การแจ้งเตือนด้วยธงเขียว เหลือง แดง และแดงบวกไซเรน การซ้อมอพยพ การดูแลสถานีสูบน้ำที่มี cctv และระบบควบคุมทางไกล 50 จุด
นอกจากนั้นยังมีภาคประชาสังคม ภาคเอกชนร่วมนำเสนอระบบเตือนภัยของ www.hatyaicityclimate.org ที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนและประชาสังคม ใช้การเตือนภัยแบบไม่ต้องเตือนภัยผ่านกล้อง cctv ณ จุดสำคัญที่ผ่านการวิเคราะห์ระดับน้ำที่จะสัมพันธ์กับเงื่อนไขการเกิดอุทกภัยล่วงหน้า ภาพถ่ายฝนจากเรดาห์และจากดาวเทียม และปีนี้ได้พัฒนา line OA สู้ภัยน้ำท่วม ขึ้นมาเป็นการเฉพาะมีการรวมตัวกับสมาคม มูลนิธิ สถานศึกษาจัดตั้งเครือข่ายสงขลาสู้ภัยน้ำท่วม พัฒนาระบบให้ความช่วยเหลือเสริมกับอปท.และหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อรับแจ้งเหตุ การขอความช่วยเหลือ แล้วนำเสนอข้อมูลเพื่อสนับสนุนการรับมือในช่วงเกิดภัย(หากมี)
ปีนี้นับว่าหลายภาคส่วนให้ความสำคัญ ประชาชนเองก็เกิดความตระหนัก ไม่อยากให้เกิดความสูญเสีย แม้ว่าจะไม่มีอุทกภัยใหญ่มา 14 ปีแล้วก็ตาม
ภาคบ่าย ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และเครือข่ายความร่วมมือ ประชุมต่อในการให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาระบบ line OA และซักซ้อมแนวปฏิบัติที่จะต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จ
"ประชุมทีมเล็กสงขลาสู้ภัยน้ำท่วม"
วันที่ 18 ตุลาคม 2567 นัดทีมโปรแกรมเมอร์ปรับระบบline OA "สู้ภัยน้ำท่วม" ให้แล้วเสร็จ โดยสรุปจะเป็นระบบบริการข้อมูลรองรับการเกิดภัยน้ำท่วมใหญ่ให้กับสาธารณะ เติมเต็มการทำงานให้กับหน่วยงานส่วนท้องถิ่นและส่วนภูมิภาค ในฐานะภาคประชาสังคม "ถ้าเลือกได้เราก็ไม่อยากใช้งานระบบนี้" ทีมงานประสานเสียงร่วมกัน แต่เพื่อรองรับความเสี่ยง จำเป็็นต้องรีบพัฒนาและประสานการทำงานไว้รองรับ รอบนี้มีทีมปภ.เขตมาร่วมให้ข้อเสนอแนะ โดยมีความก้าวหน้าดังนี้
1)บ.inet ได้ load test การใช้เว็บไซต์ www.hatyaicityclimate.org พบว่าสามารถรองรับได้สูงสุด 4,000 คนต่อวินาที และรับรองได้ว่าไม่ล่มแน่ๆ และทีมโปรแกรมเมอร์จากมูลนิธิ scccrn และบ.อินเตอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด(มหาชน)ยังได้ปรับในเชิงเทคนิคเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น และกำลังนำภาพกล้อง cctv ในพื้นที่คลองร.1 จากชลประทานนำเข้าสู่ระบบ
2)ในส่วนของ line OA "สู้ภัยน้ำท่วม" ที่พัฒนาโดยบ.ซิตี้วาร์ไรตี้ คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด จะอยู่ใน server เดียวกันกับเว็บไซต์ www.hatyaicityclimate.org ที่ทางบ.inet อนุเคราะห์ให้ใช้พื้นที่ในการใช้งาน ทั้งนี้เมนูหลักของระบบ ประกอบด้วย การแจ้งข้อมูลข่าวสาร การแจ้งข่าวให้กับทีม Admin การรวบรวมข้อมูลสำคัญ(ที่จะต้องประสานข้อมูลเข้าระบบต่อไป) ได้แก่ เบอร์โทรหน่วยงานสำคัญ จุดจอดรถ จุดอพยพ จุดให้การช่วยเหลือ การเข้าดูกล้อง cctv
และเริ่มต้นใช้งานในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ โดยมีข้อมูลสำคัญที่จะนำมาใช้ในช่วงเกิดเหตุ ก็คือ
1)การแจ้งเหตุ ประกอบด้วยจุดอุดตัน+สถานที่+ปัดหมุดพิกัด จุดเกิดเหตุน้ำท่วม+เวลาและภาพในสถานที่เกิดเหตุ ระดับน้ำ แผนที่/ปักหมุด โดยจะนำเสนอข้อมูล 3 ชม.ล่าสุด
2)การขอความช่วยเหลือ โดยระบบได้แยกประเภทความต้องการความช่วยเหลือไว้ และให้ความสำคัญกับเหตุระดับที่ทำให้เสียชีวิตสูงสุด ที่จะต้องให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน รวมถึงรายงานแยกพื้นที่ตามหน้าที่ของอปท.รับผิดชอบ ระบุชื่อพื้นที่เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล อบต.และภาพรวมระดับอำเภอ โดยคงข้อมูลเหล่านี้เอาไว้จนกว่าจะมีการปิดเคสให้ความช่วยเหลือ ซึ่งจะต้องมีการกำหนดแนวทางบริหารข้อมูลร่วมกันต่อไป กรณีนี้จะให้ผู้แจ้งเหตุใช้นามแฝง
ผู้เข้าใช้งานทั่วไปจะไม่มีการยืนยันตัวตน เพื่อตัดภาระค่าใช้จ่ายและความสะดวกในการใช้งาน
3)การใช้งานระบบ จะมี Admin 2 ระดับได้แก่ ทีมกลาง และทีมจากองค์กรความร่วมมืิอ ที่จะนำข้อมูลไปบริหารความช่วยเหลือ ซึ่งAdmin แต่ละองค์กรสามารถเพิ่มสมาชิกได้อีกด้วย กลุ่ม Admin และสมาชิกอาสาสมัครจะต้องยืนยันตัวตน OTP
ทั้งนี้ในส่วนของการบริหารจัดการข้อมูลร่วมกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนและเสริมหนุนการช่วยเหลือต่อกัน มีข้อสรุปให้ประสานองค์กรความร่วมมือ ร่วมให้ข้อเสนอแนะ รวมถึงบริหารจัดการระบบในส่วน Admin ร่วมกัน ในบ่ายวันที่ 22 ตุลาคม 2567 โดยช่วงเช้า ทีมหอการค้าจะเป็นตัวแทนนำเสนอระบบ line OA ให้ผู้เข้าร่วม ในงานหาดใหญ่เข้มแข็งครั้งที่ 15 ณ โรงแรมนิวซีซั่น ที่ ม.อ. เป็นเจ้าภาพจัด
พร้อมกับนำประเด็นที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ หารือเครือข่ายความร่วมมือ และรับฟังข้อเสนอแนะในการใช้งานระบบ โดยจะนำร่องการใช้งานในส่วนภาคองค์กรเอกชน มหาวิทยาลัย มูลนิธิฯ เพื่อทดสอบระบบและประสานการทำงานกับระบบสื่อสารอื่นๆ อาทิ สายด่วน สมาร์ทโฟน วิทยุสมัครเล่น ผ่าน center แต่ละจุดของเครือข่ายที่จะจับมือร่วมกัน
ก่อนที่จะขยายผล ประสานทางอำเภอ และจังหวัดสงขลา ประชาสัมพันธ์และร่วมดำเนินงานต่อไปในส่วนพื้นที่อำเภออื่นๆต่อไป
"ประชุมทีมเล็กเครือข่ายสงขลาสู้ภัยน้ำท่วม"
วันที่ 14 ตุลาคม 2567 ทีมชุดเล็กและเครือข่ายประกอบด้วย รองประธานและกรรมการมูลนิธิมิตรภาพสามัคคี ประธานและทีม scccrn บ.inet ไทยแลนด์ รองประธานหอการค้า ตัวแทนสภาเศรษฐกิจหาดใหญ่/สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดสงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลา/สมัชชาสุขภาพจังหวัด ตัวแทนม.อ. ร่วมหารือการเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม(หากมี) ณ ห้องประชุมมูลนิธิมิตรภาพสามัคคี
มีข้อสรุปที่เป็นข้อเสนอแนะสำคัญดังนี้
1.เป้าร่วมของการดำเนินงาน
1)เพื่อลดการเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากเหตุอุทกภัยใหญ่
2)เพิ่มประสิทธิภาพระบบการช่วยเหลือประชาชนขณะเกิดเหตุ บนฐานการเติมเต็มการทำงานของภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง
2.ขอบเขตการดำเนินงาน เริ่มต้นในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ ก่อนขยายไปตามความพร้อมของความร่วมมือ
3.การดำเนินงานระยะสั้น
3.1 สร้างทีมโปรแกรมเมอร์กลางร่วมกันพัฒนา Platform กลาง ประกอบด้วยทีมจากมูลนิธิ scccrn บ.ซิตี้วาร์ไรตี้ คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด บ.อินเตอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด(มหาชน) และอื่นๆ โดยใช้ server ของบริษัทอินเตอร์เน็ตฯสนับสนุนการเก็บข้อมูล เพื่อรับภาระlord ของการเข้าระบบ (ทีมนี้นัดหารือร่วมกัน 15 ตุลาคม 17.00 น. ณ บริษัทอินเตอร์เน็ตฯ ม.อ.)
-ระบบเตือนภัย ดำเนินการผ่าน www.Hatyaicityclimate.org สามารถรับlordคนดู และนำเสนอข้อมูลจากทีมประเมินสถานณ์น้ำจังหวัดที่มีม.อ.เป็นหัวหน้าทีม ร่วมกับศูนย์อุตุฯ ชลประทาน ทรัพยากรน้ำภาค 8 ปภ. ฯลฯ
-ระบบช่วยเหลือขณะเกิดภัยและหลังเกิดภัย ดำเนินการผ่าน 1) line OA : flood rangers ที่มีทีมบ.ซิตี้วาร์ไรตี้ คอร์เปอร์เรชั่น จำกัดพัฒนาอยู่ ประสานการทำงานกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง สร้างช่องทางสื่อสารกลางระดับพื้นที่ในอำเภอหาดใหญ่(จุดเริ่มต้น) รายงานข่าวสำคัญจากหน่วยงานเพื่อสร้างเอกภาพการสื่อสาร รวบรวมข้อมูลการแจ้งเหตุที่สัมพันธ์กับการระบุชื่อ เบอร์โทร พิกัดในแผนที่-ออกรายงานแยกประเภทให้เห็นข้อมูลในภาพรวมแต่ละพื้นที่และการขอความช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกการประสานส่งต่อกับท้องถิ่นหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือการช่วยโดยสมาคม/มูลนิธิต่างๆ 2)ระบบสนับสนุนกลางเพื่อเผชิญเหตุของบ.อินเตอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด(มหาชน) ที่มีระบบอยู่แล้วในการออกรายงาน การติดตามผล เสริมหนุนภาคีเครือข่ายสำคัญ อาทิ มูลนิธิมิตรภาพสามัคคี(นำร่องใช้งาน) ทำงานร่วมกับทีมช่วยเหลือที่มีจะรวมตัวกันบริหารจัดการระบบ โดยมีสถานีวิทยุ ม.อ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ดร.นฤทธิ์ จะประสาน อ.เทิดทูน และศูนย์วิจัยภัยพิบัติหารือ) สมาคมอาสาสร้างสุข ไทยพีบีเอส เป็นต้น ช่วยกันวางระบบ และทำงานร่วมกับองค์กรความร่วมมิอที่พร้อมใช้งาน รวมถึงออกแบบกลไกรองรับการเชื่อมโยงกับ platform อื่นๆ อาทิ เว็บไซต์ สถานีวิทยุ วิทยุสมัครเล่น สายด่วน 1663
โดยพัฒนาระบบให้พร้อมใช้งานให้เร็วที่สุด ทั้งนี้มีข้อเสนอในส่วนของการใช้ line OA ที่ให้การเข้าใช้งานประกอบด้วยผู้ใช้งาน 1)ประชาชนทั่วไปเพื่อแจ้งเหตุขอความช่่วยเหลือ ไม่ต้องยืนยันตัวบุคคล เพื่อลดความยุ่งยากในการใช้ระบบ 2)อาสาสมัครที่แจ้งเหตุ ให้ยืนยันตัวบุุคคล(ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร) เพื่อลดตวามสับสนของข้อมูล
หลังพัฒนาระบบแล้วเสร็จ(ภายในเดือนตุลาคม) จะได้เชิญเครือข่ายสงขลาสู้ภัยน้ำท่วม มาให้ข้อเสนอแนะต่อรูปแบบการทำงาน พร้อมจัดตั้ง Admin ของแต่ละองค์กรเพื่อใช้งานระบบ พร้อมแถลงข่าวประชาสัมพันธ์การใช้งาน และหารือกับอำเภอและจังหวัดเพื่อเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันต่อไป
3.2 การพัฒนากลไกการทำงาน ประกอบด้วย
1)core team มีตัวแทนมูลนิธิ scccrn เป็นหัวหน้าทีม ตัวแทนมูลนิธิมิตรภาพสามัคคี หอการค้า สภาเศรษฐกิจ บ.อินเตอร์เน็ตฯ สถานีวิทยุม.อ. สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มูลนิธิชุมชนสงขลา เป็นกลุ่มแกนอาสา และเพิ่มภาคีตามประเด็นหารือให้เหมาะสม โดยใช้ห้องประชุมของมูลนิธิมิตรภาพสามัคคีหรือผ่านระบบประชุมทางไกล โดยเฉพาะกรณีเกิดเหตุ สามารถเป็นทีม Think tank เรียกประชุมหารือ ร่วมกำหนดทิศทาง ประสานการทำงานเสริมหนุนภาคีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน
2)เครือข่ายสงขลาสู้ภัยน้ำท่วม มีประธานมูลนิธิมิตรภาพสามัคคีเป็นประธานเครือข่าย พร้อมด้วยตัวแทนขององค์กรความร่วมมือ ปัจจุบันมี 24 องค์กร(มีเพิ่มอีกราว 10 องค์กร) กลไกนี้สามารถจัดทำคำสั่งคณะทำงานร่วมกันกับอำเภอหาดใหญ่และอื่นๆตามความเหมาะสม
วันนี้ (4 ตุลาคม 2567) คณะทำงานตรวจสอบกล้อง ณ บางศาลา และส่งทีมช่างเข้าไปทำการเซอร์วิสกล้อง ควนขี้แรด พร้อมทั้งทำการเปลี่ยนเราท์เตอร์จากยี่ห้อ Dlink ซึ่งติดตั้งไว้ตั้งแต่ ที่ได้รับบริจาคมา พบว่าหลายจุดมีอาการแฮงค์บ่อยมาก เลยเปลี่ยนเอายี่ห้อ Tenda มาใช้แทน ในจุดที่อยู่ไกลๆเช่น ม่วงก็อง/ ทุ่งลุง / ควนเนียง/ และควนขี้แรด
ภูเบศ แซ่ฉิน ทีมงานมูลนิธิ SCCCRN รายงาน
วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ดร.สมพร สิริโปราณานท์ ประธานมูลนิธิ SCCCRN ได้เป็นตัวแทนในนามโครงการ Acccrn เข้าร่วมงานครบรอบ 60 ปี โดยความร่วมมือระหว่าง หน่วยงาน TICA และ Rockefeller Foundation เพือสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพันธมิตรที่เข้าร่วมจากภูมิภาคเอเซีย
"ระบบเตือนภัยด้วยตนเอง"
หน้าฝนของภาคใต้ฝั่งตะวันออกใกล้เข้ามาแล้ว พร้อมข่าวอุทกภัยใหญ่ประเดประดังมาเป็นระยะ ล่าสุดเกิดที่เชียงราย พายุดีเพรสชั่นเข้าพื้นที่ ฝนหนักไหลลงจากภูเขาที่ไม่มีป่าดูดซับ น้ำหลากเข้าท่วมแทบทั้งจังหวัด จึงอยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเมืองหาดใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากก็ว่าได้ ความที่เกิดเหตุบ่อย ในพื้นที่จึงเกิดการพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้ามารองรับ หัวใจหลักคือ นำข้อมูลที่ประชาชนควรรับรู้มานำเสนอให้เข้าถึงได้ง่าย "เตือนภัยแบบไม่ต้องเตือน" ผนวกกับกลไกเสริมหนุนที่สำคัญ
1)มีทีมประเมินสถานการณ์ระดับจังหวัด ประกอบด้วยวิชาการมอ.เป็นหัวหน้าทีม ลูกทีมประกอบด้วยศูนย์อุตุฯ ชลประทาน ทรัพยากรน้ำภาค ปภ.จังหวัด ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่ประเมินสถานการณ์ที่จะเกิดอุทกภัย สามารถเรียกประชุมเร่งด่วนได้ มีข้อสรุปอย่างไรก็ส่งต่อผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ
กลไกนี้แต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ทำหน้าที่เสริมหนุนกลไกหลักที่ปภ.เป็นหน่วยเลขาดำเนินการ
เทศบาลนครหาดใหญ่ในฐานะท้องถิ่นที่ปกติพอเข้าหน้าฝนต้องตั้งศูนย์ฯจะต้องแถลงข่าว พร้อมกับวางระบบย่อยในพื้นที่เสี่ยง อาทิ บ้านพี่เลี่ยง(จุดอพยพย่อย) ธงสี+สัญญาณเสียง กลุ่มไลน์ การบริหารจัดการน้ำ(สูบน้ำ/ระบายน้ำ) ทีมเผชิญเหตุ
ที่สำคัญ พื้นที่หน้าด่านคือ 10 ชุมชนริมคลองอู่ตะเภา เป็นจุดแรกที่เกิดน้ำท่วม ก่อนที่น้ำข้ามพนังเข้าสู่ตัวเมืองรอบนอก และไหลขึ้นท่อมาท่วมในเขตเศรษฐกิจ จะต้องมีแผนระดับชุมชน จัดระบบรองรับกลุ่มเสี่ยง ระบบบ้านพี่เลี้ยงที่จะเป็นจุดอพยพย่อย จุดจอดรถ เหล่านี้ขึ้นอยู่ว่าเทศบาลฯจะต้องเตรียมก่อนหน้าฝนหรือไม่อย่างไรด้วย
2)สร้างช่องทางสื่อสารให้กับประชาชน รวมข้อมูลที่จำเป็นมาอยู่ในที่เดียวกัน www.hatyaicityclimate.org เป็นเว็บที่คนหาดใหญ่รู้จักดี ด้วยน้ำท่วมใหญ่ในหาดใหญ่เกิดขึ้นได้จากปัจจัยสำคัญ คือน้ำจากคลองอู่ตะเภาไหลหลากเข้าท่วมเมือง โดยเฉพาะน้ำจากอำเภอสะเดา ไหลมารวมกับน้ำจากนาหม่อม คอหงส์ ควนลัง จึงได้ติดตั้งกล้อง cctv (เอกชนร่วมกันสนับสนุน ยกเว้นกล้องที่สะพานหน้าอำเภอที่เป็นของทรัพยากรน้ำภาค 8)ตามจุดสำคัญริมคลองอู่ตะเภาที่วิเคราะห์ผังน้ำแล้วว่าสามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้ พร้อมที่วัดระดับน้ำ มีสัญลักษณ์ธงสีแจ้งเตือน
3)บริหารระบบระบายน้ำ ผ่านคลองระบายน้ำสายต่างๆ ที่จะต้องจัดการร่วมกับท้องถิ่นที่อยู่ใกล้เคียง อย่างไรก็ดี ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของกองช่างบวกกับเทคโนโลยี รวมถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีการถมที่ การขุดลอกท่อ คูระบายน้ำ การพัฒนาสร้างที่อยู่อาศัย/การสร้างถนนขวางทางน้ำ จุดรับน้ำมีเหลือมากน้อยเพียงใด
ที่สำคัญ ปริมาณน้ำฝนที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งมีเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดน้ำท่วมได้ ประกอบด้วย
1)ระเบิดฝนRain Bomb เกิดจากฝนฟ้าคะนอง ฝนตกในปริมาณ 100 มม.ต่อชม.ทำให้เกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน ด้วยมาตรฐานของระบบระบายน้ำในบ้านเรารองรับน้ำได้ที่ 60-80 มม.ต่อชม. เมืองใหญ่ๆมักเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้บ่อยครั้ง ศูนย์อุตุฯมีเวลาเตือนล่วงหน้า 1 ชม.เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอ เป็นปัญหาใหญ่ที่จะต้องพัฒนาระบบมารองรับต่อไป
2)ฝนจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเข้าปกคลุมพื้นที่ หรือทำให้เกิดท่วมใหญ่จะมาจากพายุดีเพรสชั่น พูดง่ายๆ ปริมาณน้ำระดับ 400 มม.ที่ตกต่อเนื่องหลายวัน เกินความจุของพื้นที่รับน้ำ กรณีนี้เราจะหนีอุทกภัยใหญ่ไม่พ้น เพียงแต่เราจะมีเวลารู้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมความพร้อม แล้วก็อยู่ทิศทางของฝนว่าเคลื่อนตัวไปไหนอย่างไร
www.hatyaicityclimate.org เกิดขึ้นจากความร่วมมือของโครงการเครือข่ายเมืองในเอเซียเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(ACCCRN) ซึ่งปัจจุบันจัดตั้งเป็นมูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(SCCCRN)หลอมรวมทีมงานจากภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีภาคเอกชนและประชาสังคมเป็นแกนประสานงาน เว็บไซต์นี้มูลนิธิ SCCCRNเจ้าของดำเนินการเอง รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อความคล่องตัวและสร้างความเป็นเจ้าของให้แก่ประชาชน
ระบบของเว็บไซต์พัฒนาให้สามารถรองรับการใช้งานของประชาชนนับแสนครั้งในกรณีฝนตกหนัก โดยมี server รองรับจาก 3 หน่วยงาน คือ บ.inet ม.อ. และมูลนิธิฯ
ด้วยความหวังว่าจะช่วยลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในภาวะโลกเดือด ซึ่งเป็นภัยใหม่ที่คุกคามเราทุกคน
ชาคริต โภชะเรือง ทีมงานมูลนิธิ SCCCRN