SCCCRN

"เสวนาหาดใหญ่เข้มแข็ง...สู้ภัยน้ำท่วม" ครั้งที่ 15

by punyha @24 ต.ค. 67 11:36 ( IP : 171...199 ) | Tags : ข่าวสารประชาสัมพันธ์
  • photo  , 960x720 pixel , 103,429 bytes.
  • photo  , 960x1358 pixel , 217,134 bytes.
  • photo  , 1482x1105 pixel , 140,418 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 141,576 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 201,307 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 137,386 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 88,433 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 63,154 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 134,415 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 125,413 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 134,992 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 132,791 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 146,828 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 123,097 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 186,398 bytes.

"เสวนาหาดใหญ่เข้มแข็ง...สู้ภัยน้ำท่วม" ครั้งที่ 15

วันที่ 22 ตุลาคม 2567 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นโต้โผใหญ่ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดเสวนา "รวมพลังหาดใหญ่สู้ภัยน้ำท่วม ร่วมสร้างความตระหนักอย่างยั่งยืน" กระตุ้นเตรียมความพร้อมการรับมืออุทกภัยที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นในปีนี้ ณ โรงแรมนิวซีซั่ม หาดใหญ่ โดยมีนายวิทยา จันทน์เสนะ รองผู้ว่าฯมาเป็นประธานเปิดงาน มีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน

ช่วงเสวนา ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ให้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้ทบทวนข้อมูลฝนในรอบ 30 ปีพบว่า

1)ค่าเฉลี่ยต่อปีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม จำนวนวันที่ฝนตกก็มากขึ้น และมีความเข้มหรือปริมาณฝนที่ตกแต่ละครั้งมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อรวมกับลานียา ทำให้เชื่อว่าปีนี้ฝนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงการเกิดพายุโซนร้อนจะมีโอกาสเกิดเพิ่มขึ้นอีกด้วย

2)ปีนี้ฝนจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีอิทธิพลทำให้เกิดน้ำท่วมมาถึงลุ่มน้ำอู่ตะเภา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิด ทั้งที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังไม่เริ่มต้น

3)การตกของฝนต่อเนื่องไปถึงเดือนมกราคม โดยทั้งปริมาณ จำนวนวัน และความเข้มของฝนเพิ่มขึ้น และเมื่อมาวิเคราะห์ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำให้พื้นที่รับน้ำน้อยลง ทำให้ปีนี้มีแนวโน้มจะเกิดอุทกภัยได้มากขึ้น

เช่นเดียวกับข้อมูลจากศูนย์วิจัยภัยพิบัติธรรมชาติฯม.อ. บอกว่า ฝนเปลี่ยนไป การใช้ประโยชน์ที่ดินเปลี่ยนไป เมืองขยายตัวมีการถมที่มากขึ้น ป่าลดลง พื้นที่เกษตรลดลง เกิดชุมชนย่อยมากขึ้น กลไกระดับจังหวัดมีทีมปฏิบัติการประเมินสถานการณ์น้ำในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ส่งต่อข้อมูลให้กับจังหวัด หากเกิดเหตุ ม.อ.จะเป็นจุดที่จอดรถ ศูนย์อพยพ และศูนย์ให้ความช่วยเหลือ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้ข้อมูลการเตรียมพร้อม ได้แก่ ชลประทาณ ที่ใช้คลองร.1-ร.6 ในการบริหารน้ำ การพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำ การเฝ้าระวังระดับน้ำในคลองอู่ตะเภาและคลองร.1, ทรัพยากรน้ำที่ 8 มีสถานีเตือนภัยในพื้นที่ต้นน้ำ 16 สถานี พร้อม cctv ที่สะพานหน้าวัดหาดใหญ่ใน, ปภ.เขต 12 ใช้กฏหมาย พรบ.ปภ.50 และแผนปภ.ชาติ 2564-2670 เป็นเครื่องมือในการบริหารภัย และทน.หาดใหญ่ นำเสนอระบบระบายน้ำ ในการดูแลพื้นที่เสี่ยงที่มี 24 จุด การขุดลอกคูคลอง การดูแลกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะผู้ป่วย การใช้บ้านพี่เลี้ยงในชุมชนที่มี 90 หลังเป็นจุดอพยพย่อยใน 35 ชุมชน การเตรียมศูนย์อพยพหลักร่วมกับโรงเรียนเทศบาลและโรงเรียนใหญ่ การแจ้งเตือนด้วยธงเขียว เหลือง แดง และแดงบวกไซเรน การซ้อมอพยพ การดูแลสถานีสูบน้ำที่มี cctv และระบบควบคุมทางไกล 50 จุด

นอกจากนั้นยังมีภาคประชาสังคม ภาคเอกชนร่วมนำเสนอระบบเตือนภัยของ www.hatyaicityclimate.org ที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนและประชาสังคม ใช้การเตือนภัยแบบไม่ต้องเตือนภัยผ่านกล้อง cctv ณ จุดสำคัญที่ผ่านการวิเคราะห์ระดับน้ำที่จะสัมพันธ์กับเงื่อนไขการเกิดอุทกภัยล่วงหน้า ภาพถ่ายฝนจากเรดาห์และจากดาวเทียม และปีนี้ได้พัฒนา line OA สู้ภัยน้ำท่วม ขึ้นมาเป็นการเฉพาะมีการรวมตัวกับสมาคม มูลนิธิ สถานศึกษาจัดตั้งเครือข่ายสงขลาสู้ภัยน้ำท่วม พัฒนาระบบให้ความช่วยเหลือเสริมกับอปท.และหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อรับแจ้งเหตุ การขอความช่วยเหลือ แล้วนำเสนอข้อมูลเพื่อสนับสนุนการรับมือในช่วงเกิดภัย(หากมี)

ปีนี้นับว่าหลายภาคส่วนให้ความสำคัญ ประชาชนเองก็เกิดความตระหนัก ไม่อยากให้เกิดความสูญเสีย แม้ว่าจะไม่มีอุทกภัยใหญ่มา 14 ปีแล้วก็ตาม

ภาคบ่าย ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และเครือข่ายความร่วมมือ ประชุมต่อในการให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาระบบ line OA และซักซ้อมแนวปฏิบัติที่จะต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จ

Relate topics