หาดใหญ่เตือนภัยน้ำท่วมด้วยตนเอง
ขณะที่น้ำท่วมใหญ่เมืองหลวงอยู่ขณะนี้ ภาคใต้เป็นเพียงภาคเดียวที่ยังไม่ประสบปัญหาภัยพิบัติ ซึ่งก็หาใช่ว่าจะรอดพ้นไม่ เพราะไม่ว่าจะนับย้อนหลังไป ภาคใต้โดยเฉพาะหาดใหญ่เพิ่งผ่านพ้นประสบการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ไปไม่นาน ถึงเวลานี้ก็ครบรอบ 1 ปีพอดีและไม่แน่ว่าปีนี้น้ำใหญ่จะเข้ามาอีกหรือไม่
หาดใหญ่ปีนี้จึงเตรียมความพร้อมขนานใหญ่ ด้วยแนวทางที่เปลี่ยนไปจากเดิม คือ ให้ความสำคัญกับระบบการเตือนภัยและการรับมือด้วยชุมชนมากขึ้น และอาจจะมากกว่ามาตรการสิ่งก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นพนังกั้นน้ำ การสร้างแก้มลิง และอื่นๆ ผมเองก็มีส่วนในการทำงานรับมือภัยพิบัติโดยเฉพาะจากอุทกภัยนี้พอสมควร ในฐานะองค์กรภาคประชาชน ได้เข้ามาทำงานร่วมกับหน่วยงานหลักได้แก่ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8 กรมชลประทาน หอการค้าจังหวัด เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลคอหงส์ เทศบาลควนลัง เทศบาลตำบลพะตง เทศบาลเมืองคลองแห และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ร่วมกันรับมืออุทกภัยที่เรามองว่าเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบวกกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศด้วยฝีมือมนุษย์ โดยทำงานภายใต้แนวคิดที่ว่า “เราไม่สามารถยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ แต่เราสามารถสร้างตัวอย่างเมืองเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้”
แนวทางที่จะดำเนินการ ก็คือ ปรับระบบของเมือง ที่มีความซับซ้อน เนื่องจากมีความ เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับระบบต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาเมือง เช่น ระบบนิเวศวิทยา โครงสร้างกายภาพ/โครงสร้างพื้นฐาน ระบบสังคม ระบบเศรษฐกิจ/ระบบการเงิน ปกป้องกลุ่มเสี่ยงหรือเปราะบาง ความเปราะบางหรือความเสี่ยงในบริบทเมือง หมายถึง การที่ประชากรเมือง ไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการขั้นพื้นฐานและบริการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ให้สามารถรับมือและปรัยตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัจจุบันเมืองมีความเสี่ยงต่อผลกระทบและภัยธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในหลายรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ระดับความรุนแรงและความถี่ของภัยธรรมชาติ ซึ่งทำให้เมืองและประชากรได้รับผลกระทบต่างๆ อย่างรุนแรงด้วย
ประสบการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าการทำงานที่สอดคล้องกับภูมินิเวศน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด แล้วก็ไม่ควรแบ่งแยกพื้นที่ดำเนินการ ไม่ควรแยกพื้นที่ไข่แดงกับพื้นที่รอบนอก ประสบการณ์ความขัดแย้งเช่นนี้หาดใหญ่ผ่านมาแล้ว น่าเสียดายที่บทเรียนเหล่านี้ ทางภาคกลางไม่ได้นำไปใช้ ทุกอย่างเลยผิดซ้ำซาก
เรียกได้ว่า เรามีการปรับกลไกการทำงานระดับจังหวัด ระดับลุ่มน้ำ และระดับชุมชน ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถรับมือและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เหนือการควบคุม ลดความสูญเสียเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด
เมืองหาดใหญ่มีลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ มีแนวภูเขาทางด้านทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศตะวันออก โดยพื้นที่ลาดจากทิศใต้และทิศตะวันตกไปสู่ทะเลสาบสงขลา อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 26.6-29.6 โดยอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ ปริมาณฝนเฉลี่ยประมาณ 1,916.4 มิลลิเมตร ปริมาณฝนมากที่สุดเดือนพฤศจิกายน
ลักษณะของฝนที่เป็นสาเหตุของการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาและเทศบาลนครหาดใหญ่เป็นฝนที่มีการตกต่อเนื่องที่มีปริมาณฝนมากกว่า 120 มิลลิเมตร ในเวลา 3 ชั่วโมง ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2531 (275.1 มิลลิเมตร ในระยะเวลา 2 วัน) , 2543 (447.5 มิลลิเมตร ในระยะเวลา 3 วัน) และในปี พ.ศ. 2553(500 มิลลิเมตร ในระยะเวลา 1 วัน) โดยมักจะเกิดน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคมอยู่เสมอ
การเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณอำเภอเมืองหาดใหญ่มีสาเหตุเนื่องจากลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งของอำเภอเมืองหาดใหญ่ ซึ่งอยู่ในบริเวณพื้นที่ลุ่มและความสามารถในการระบายน้ำขึ้นอยู่กับระดับน้ำในทะเลสาบสงขลาเป็นสำคัญ และอีกทั้งอยู่ในเขตฝนตกชุก ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในปี 2553 มีปริมาณน้ำฝนสูงถึง 500มิลลิเมตรต่อวัน ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในหาดใหญ่ อีกทั้งการพัฒนาตัวเมืองและสาธารณูปโภคที่ไม่เอื้อให้น้ำระบายได้ดี และมาตรฐานการออกแบบทางวิศวกรรมที่ไม่ถูกต้อง ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วมในเมืองหาดใหญ่ทั้งสิ้น
คุณสมภพ วิสุทธิศิริ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ได้กล่าวถึงลักษณะภูมิประเทศของลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา และชี้ว่าน้ำท่วมหรืออุทกภัยนั้นมาจากทิศทางการไหลของน้ำ 4 ทางหลัก ได้แก่ ทางสะเดา จากนาหม่อม จากคลองวาด คลองต่ำ และจากเขาคอหงส์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
สายน้ำที่มาจากอำเภอสะเดา ที่นี่ปัจจุบันมีอ่างเก็บน้ำสะเดา ซึ่งบ่อยครั้งจะมีข่าวลือว่าอ่างแตก ทั้งที่มีพื้นที่รับน้ำ 90 ตารางกม. ส่วนพื้นที่รับน้ำของหาดใหญ่มี 2000 ตารางกม. ต่อให้อ่างแตกจริงก็หาได้ส่งผลกระทบต่อเมืองหาดใหญ่ไม่ เมื่อฝนตกหนักน้ำไหลจากต้นน้ำของสะเดามาทางบ้านม่วงก็อง ไหลไปสู่บ้านบางศาลาแล้วไหลสู่ประตูกั้นน้ำของคลองอู่ตะเภา 2 จุด คือ คลอง ร.1(เพื่อดึงน้ำจากคลองอู่ตะเภาไปออกทะเสสาบสงขลา) และคลองอู่ตะเภา
สายน้ำจากอำเภอนาหม่อม โดยน้ำไหลมาทางบ้านคลองหวะ ก่อนที่จะไปบรรจบกันกับน้ำคลองอู่ตะเภาที่บริเวณประตูกั้นน้ำทั้ง 2 จุด
สายน้ำจากเขาคอหงส์ โดยมีจุดเริ่มต้นสายน้ำจากบ้านทุ่งงาย น้ำไหลไปไปสู่แก้มลิงคลองเรียน บ้านคลองเรียน ก่อนที่จะไหลไปสู่ถนน 30 เมตร แล้วไหลไปลงคลองแห ไปออกคลองอู่ตะเภา ณ วัดนารังนก ก่อนที่จะออกทะเลสาบสงขลา
สายน้ำจากน้ำตกโตนงาช้าง โดยน้ำไหลมาที่คลองวาด คลองต่ำ ผ่านประตูกั้นน้ำที่คลองต่ำ แล้ว ไหลไปยังคลอง ร.1 เป็นตัวหนุนทำให้เพิ่มระดับน้ำในคลองร.1 ส่งผลต่อการเกิดอุทกภัยของหาดใหญ่เช่นกัน
ส่วนน้ำที่จะทำให้เกิดอุทกภัยนั้น มี 2 ส่วน ได้แก่ น้ำจากฟ้าและน้ำท่าที่เอ่อท้นจากลำคลอง
น้ำจากฟ้า ในภาคใต้ มี 5 ชนิด ได้แก่
ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุม ถ้าหากเราดูภาพจากการพยากรณ์อากาศ จะมีสัญลักษณ์เป็นเส้นสีแดงคู่ขนาน หากพาดผ่านตรงไหน จะมีกำลังแรง ฝนชุก
หย่อมความกดอากาศต่ำ มีความรุนแรงมากกว่าร่องความกดอากาศต่ำ มีสัญลักษณ์เป็นตัว L สีแดง มีวงกลมเส้นสีน้ำเงินล้อมรอบ
พายุหมุนเขตร้อน จะมีสัญลักษณ์เป็นรูปตัว D ลักษณะเป็นกลุ่มก้อนเมฆมีการหมุนวน เกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำเพิ่มความรุนแรงจากดีเปรสชั่น มาเป็นพายุโซนร้อน ไต้ฝุ่น(สัญลักษณ์เป็นจุดสีแดงทึบ หรือก้อนเมฆมีตาอยู่ตรงกลาง),เฮอร์ริเคน ตามลำดับ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เคลื่อนตัวจากฝั่งอันดามัน ผลกระทบกับหาดใหญ่น้อย
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เคลื่อนตัวจากฝั่งอ่าวไทย และมีส่วนทำให้เกิดกลุ่มฝนขนาดใหญ่จนสามารถทำให้เกิดน้ำท่วม (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.Songkhla.tmd.go.th)
ขณะรายงานอยู่นี้ ทางอุตุฯเตือนว่ามรสุมดังกล่าวนี้จะส่งผลให้เกิดฝนหนักในช่วงวันที่ 12 พย.เป็นต้นไป
ปัจจุบัน เรามีการเตือนภัยน้ำท่วมด้วยตนเองที่ www.hatyaicityclimate.org ภายใต้โครงการ เครือข่ายเมืองในเอเชียเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ-เมืองหาดใหญ่ Asian Cities Climate Change Resilience Network (ACCCRN) เฝ้าดูระดับน้ำในลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาผ่านกล้อง CCTVแสดงรายละเอียดภาพที่ได้มีการบันทึกในทุก ๆ 5 นาที เป็นภาพที่แสดงถึงระดับน้ำและหมุดวัดระดับน้ำที่ได้มาจากกล้องที่นำไปติดตั้งไว้ 7 จุด ได้แก่ 1 ม่วงก๊อง, 2 บางศาลา ,3 จันทรวิโรจน์, 4 คลอง ร 6, 5 แก้มลิงคลองเรียน, 6 ที่ว่าการอำเภอ, 7 คลอง ร 1
ในเว็บดังกล่าว จะแสดงข้อมูล การพยากรณ์อากาศภาคใต้ตะวันออก แสดงการพยากรณ์อากาศรายวันจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก 2) ระบบโทรมาตรลุ่มน้ำทะแลสาบสงขลา จากโครงการชลประทานสงขลา แสดงสถานการณ์น้ำ ณ จุดต่างๆที่ติดตั้งระบบ 3) รายงานสถานการณ์น้ำรายวัน จากเทศบาลนครหาดใหญ่ แสดงสภาพอากาศ การแจ้งระดับน้ำ ณ คลองต่างๆ และระดับการเตือนภัย (ธงเขียว, ธงเหลือง, ธงแดง)
นอกจากนั้นยังมี ระบบโทรมาตร ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก เป็นโปรแกรมแสดงผลและรายงานออนไลน์ แสดงปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ต่างๆ ที่ติดตั้งระบบในลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ปริมาณฝนสะสม (ราย 1, 2, 3, 6, 12, และ 24 ชม.) และระดับการเตือนภัย
และล่าสุด ทางจังหวัดได้พัฒนากลไกของจังหวัดเพื่อการรับมืออุทกภัย โดยปัจจุบันประกอบด้วยทีมประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ชุดใหญ่ มีการประชุมทุกวันพุธ และอนุกรรมการระดับลุ่มน้ำย่อย เพื่อการเตือนภัยของจังหวัดสงขลา
การทำแผนที่กลุ่มเสี่ยง
แต่ละซอยจะมี "บ้านพี่เลี้ยง" ทำหน้าที่เตือนภัย ประสานความช่วยเหลือ (ดูสัญลักษณ์บ้านที่มีแถบสีน้ำเงินแกมเขียว) บ้านพี่เลี้ยงจะมีวิทยุเครื่องแดงใช้ในกรณ๊การสื่อสารปกติล่ม
แต่ละซอยจะมีการจัดระบบการเตือนภัย การช่วยเหลือ และมีศูนย์อพยพเป็นจุดรับความช่วยเหลือ
เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง
ที่มา www.oknation.net
Relate topics
- โครงการเชิงรุกพยากรณ์อากาศร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรศูนย์อุตุฯภาคใต้ฝั่ง
- Factsheet "ภาคีหาดใหญ่ ร่วมใจระวังภัยน้ำท่วม" และ "หาดใหญ่เมืองไม่แล้งน้ำใจ"Factsheet จากการดำเน
- เอกสารแนะนำ www.hatyaicityclimate.orgเอกสารแนะนำ www.haty
- วีดิโอ "แผนรับมืออุทกภัยอำเภอคลองหอยโข่ง (ภาคประชาชน)"วีดิโอ "แผนรับมืออุท
- VDO - ACCCRN: Learning from Thailand's Floodsรับชมวิดีโอแนะนำการท
- The impact of a global temperature rise of 4 °C (7 °F) in South East AsiaThe impact of a glob
- โครงการ “การรับมืออุทกภัยเมืองหาดใหญ่ โดยการบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และชุมชน”เนื้อหา (ไฟล์ scan)
- เอกสารชุดความรู้โครงการวิจัย "ชุมชนกับการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก"เอกสารชุดความรู้ที่ม
- คำศัพท์น่ารู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคำศัพท์น่ารู้ด้านการ
- วิธีการอ่านระดับน้ำของ Staff gateวิธีการอ่านตามภาพเลย
- การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติในบริบทเชิงพื้นที่ผู้เขียน: ณรงค์ คงมา
- รังสีคอสมิกทำให้มีเมฆมากขึ้น ช่วยลดภาวะโลกร้อนอาจจะฟังดูไม่ค่อยเกี
- กฎบัติลัทธิชุมชนเมืองยุคใหม่กฎบัติลัทธิชุมชนเมือ
- การกำหนดมาตรการด้านผังเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาและรับมือภัยธรรมชาติในระดับจังหวัดและอำเภอบทความ “การกำหนดมาตร
- ภาวะโลกร้อนทำให้นกอัลบาทรอสบินได้เร็วขึ้นภาวะโลกร้อนหรือการเป
- ความรู้เรื่องอุตุนิยมวิทยาข้อมูลสำหรับนำเสนอใน
- การสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความเสี่ยงในอนาคตเอกสารที่น่าสนใจ เรื
- เปิดโมเดล รับมือภัยธรรมชาติ 3 โรงงานใน “เครือเจริญโภคภัณฑ์” ลดความสูญเสียเหลือเกือบศูนย์![ คำอธิบายภาพ : fac
- น้ำมา น้ำตาจะไม่ไหล เมื่อทุกหัวใจร่วมไขปัญหาคอลัมน์ คุยกับคอลัมน
- กระบวนการนโยบายสาธารณะ ในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของเมืองหาดใหญ่กระบวนการนโยบายสาธ
- บทเรียนการรับมือ จากบันทึกน้ำท่วมหาดใหญ่ ปี 2543 และ 2553**โดย นพ. อมร รอดคล้
- บันทึกฝนตกหนักที่หาดใหญ่ช่วงนี้ฝนตกหนัก พอฝน
- ความถูกต้องและความเป็นธรรมในการจัดการน้ำท่วมใหญ่: การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของไทยและเยอรมันสุนทรียา เหมือนพะวงศ
- ข้อควรพิจารณา เวลาจะเข้าไปล้างบ้านที่ถูกน้ำท่วมนานๆๆๆๆครับข้อควรพิจารณาเวลาที่
- Hat Yai - Information from ACCCRNHat Yai ![ คำอธ
- รู้สู้ flood ep.2 : 3คำถามยอดฮิต
- รู้สู้ flood ep.1-10c: รู้จักน้ำท่วมให้มากขึ้น
- หาดใหญ่รับมือภัยพิบัติหาดใหญ่รับมือภัยพิบั
- การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นฐานจังหวัดสงขลาจัดทำโดย ภาคีพลเมือง
- น้ำท่วม : วิธีวางกระสอบทราย![ คำอธิบายภาพ : pic
- น้ำท่วม : คู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม จัดทำโดย ม.เชียงใหม่[center]
- น้ำท่วม : วิธีเตรียมน้ำดื่ม"ปลอดภัย" ในภาวะวิกฤตน้ำท่วม**วิธีเตรียมน้ำดื่ม"
- ข้อแนะนำเกี่ยวกับไฟฟ้าในกรณีที่มีน้ำท่วมหรือน้ำท่วมขังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคข
- เรือ จากวัสดุต่างๆโครงงานนิสิต ITE52:
- วิธีป้องกันรถจากน้ำท่วม + ดูแลรถหลังน้ำท่วมที่มา[ http://www.ra
- วิธีทำเสื้อชูชีพ
- ถุงน้ำ อุปกรณ์กั้นน้ำใช้แทนกระสอบทรายที่มา [ https://www.
- วิธีการขับรถในสถานการร์น้ำท่วมจะทำอย่างไรดี กรณีขั
- น้ำท่วมกรุงเทพ ปี 2485 (Bangkok floods in 1942)

