เปิดโมเดล รับมือภัยธรรมชาติ 3 โรงงานใน “เครือเจริญโภคภัณฑ์” ลดความสูญเสียเหลือเกือบศูนย์
ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาภัยธรรมชาติทั้งเล็กน้อยและรุนแรงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยคุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร ได้มอบนโยบายหลักให้ทุกหน่วยงานของเครือฯทั้งที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยและใน ส่วนกลางต้องดูแลทั้งเพื่อนพนักงานและพี่น้องคนไทยผู้ประสบภัยที่อยู่โดยรอบ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน เป็นการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน และเป็นไปตามนโยบายหลักของการดำเนินกิจการของเครือฯ ที่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ 3 ประการ คือ ประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประโยชน์ต่อประชาชน และประโยชน์ต่อองค์กร
สำหรับปัญหาอุทกภัยในปี 2554 นี้ เครือฯได้ร่วมเคียงข้างคนไทยสู้ภัยน้ำท่วมในทุกพื้นที่โดยผู้บริหารและ เพื่อนพนักงานในทุกกลุ่มธุรกิจ ต่างผนึกกำลังกันลงพื้นที่ช่วยเหลือพี่น้องคนไทย นับจากระยะแรกที่เกิดวิกฤตโดยนำถุงยังชีพที่บรรจุข้าวสาร อาหารแห้ง สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต รวมถึงน้ำดื่มและยารักษาโรคไปมอบให้ถึงพื้นที่ และมอบผ่านหน่วยงานราชการ องค์กรส่วนท้องถิ่น และสื่อมวลชน เพื่อเป็นเครือข่ายช่วยให้เข้าถึงประชาชนได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
จากนั้นได้ร่วมกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์จัดตั้งโรงครัวประกอบอาหาร โดยอาศัยศักยภาพของหน่วยธุรกิจอย่างซีพีเอฟซึ่งมีขีดความสามารถเพียงพอที่จะ สนับสนุนวัตถุดิบหลักให้กับอาสาสมัครในพื้นที่ที่เป็นศูนย์อพยบกว่า 14 จุดในจังหวัดที่ประสบอุทกภัยโดยได้ประกอบอาหารเลี้ยงประชาชนผู้ประสบอุทกภัย ทั้งที่พักพิงอยู่ในศูนย์อพยบและที่ยังอาศัยอยู่ในบ้านเรือน ซึ่งเดินทางลำบาก ตลอดจนอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ครบทั้ง 3 มื้อทุกวัน จนกว่าเหตุการณ์จะทุเลาและประชาชนดูแลตัวเองได้พอสมควร
นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนวัตถุดิบในการปรุงอาหารให้กับหน่วยงานอื่นๆ อาทิ สำนักนายกรัฐมนตรี มูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยากสภากาชาดไทย กาชาดจังหวัด ผู้ว่าราชการ นายอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล และการช่วยเหลือผ่านสื่อมวลชน ซึ่งหากจะรวมมูลค่าทั้งหมด นับตั้งแต่เกิดเหตุอุทกภัย เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมไปแล้วมากกว่า 200 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี ในวิกฤตร้ายแรงครั้งนี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์เองก็มีหน่วยธุรกิจที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่นโรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ ของบริษัทกรุงเทพโปรดิวส์ จำกัด(มหาชน) โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป ของบริษัท ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาด จำกัด โรงงานปรับปรุงคุณภาพข้าวของ บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด ซึ่งแต่ละโรงงานต่างต้องออกดูแลช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ไปพร้อมๆ กับการดูแลปกป้องสถานที่ผลิตสินค้าให้ปลอดภัย เพื่อไม่ให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก อันจะส่งผลถึงการผลิตอาหารเพื่อปากท้องของประชาชนวงกว้าง และทุกโรงงานสามารถทำได้ดีจนแทบไม่เกิดความเสียหายใดๆในโรงงาน
ซึ่งตัวอย่างการปกป้องพื้นที่ผลิตที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และน่าจะเป็นรูปแบบสำหรับการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางแก่หน่วยงานอื่นๆ ในอนาคต คือ หน่วยงานอาหารสัตว์ ท่าเรือ เพราะที่นี้ได้นำหลักการด้านวิศวกรรมมาใช้เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการวางแนว ป้องกันน้ำท่วม
เนื่องจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ท่าเรือ ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำป่าสัก ดังนั้นจึงได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอย่างหนัก แต่ด้วยวิสัยทัศน์ของคุณวิโรจน์ คัมภีระ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ที่มองเห็นปัญหาน้ำท่วมจากปีที่ผ่านมา จึงได้สร้างกำแพงคอนกรีตรอบโรงงาน และเมื่อเห็นมวลน้ำขนาดใหญ่ที่มีจำนวนมาก และแรงกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ต้องปรับแผนการรับมือสภาวะน้ำท่วม โดยใช้การป้องกันน้ำท่วม 2 วิธี
วิธีแรก ได้ใช้ดินเสริมตามแนวกำแพงปูนเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกำแพง
วิธีที่สองได้สร้างเขื่อนดินเพื่อกันน้ำในชั้นที่สอง โดยใช้เทคนิคพิเศษมีการบดอัดดิน สร้างฐานคันดินให้กว้างแล้วไล่ระดับเป็นรูปทรงปิรามิด และมีการเฝ้าระวังตลอดเวลาเพราะต้องยอมรับว่าคันดินเมื่อแช่น้ำนานๆ จะเปื่อยยุ้ยง่าย ดังนั้นบางจุดอาจจะมีน้ำซึมเข้ามาบาง ก็ต้องคอยเสริมความแข็งแรง
ที่น่าสนใจโรงงานแห่งนี้ได้ใช้หลักการน้ำดันน้ำมาช่วยปกป้องพื้นที่ โดยปล่อยให้น้ำบางส่วนเข้ามาอยู่ระหว่างกำแพงปูนชั้นแรกและเขื่อนดินชั้นที่ สองเพื่อเป็นตัวดันกำแพงชั้นแรกและลดแรงกดน้ำที่อยู่ภายนอกกำแพง เป็นการป้องกันไม่ให้กำแพงชั้นแรกพัง และมีการใช้ปั๊มน้ำรักษาระดับน้ำในโรงงานตลอดเวลา
มีการทำแผนฉุกเฉินป้องกันอุทกภัย ซึ่งประกอบด้วย
- เตรียมเบอร์ติดต่อหน่วยงานราชการ
- ตรวจสอบระดับน้ำจากเขื่อนทุกวัน
- ตรวจสอบระดับน้ำรอบโรงงานทุกชั่วโมง
- ติดตั้งและตรวจสอบปั๊มน้ำรอบโรงงาน
- สร้างคันกั้นน้ำชั้นที่ 2
- ประสานงานกับฝ่ายขายและวางแผน เตรียมโอนย้ายการผลิตอาหารไปโรงงานใกล้เคียง
- ย้ายวัตถุดิบไปที่โรงงานใกล้เคียง
- หยุดการผลิตและย้ายพนักงานบางส่วนไปช่วยโรงงานใกล้เคียง
- จัดพนักงานเข้าซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรหลัก
- จัดเวรเฝ้าคันดิน และ ควบคุมปั๊มน้ำ ทั้ง 3 ผลัด
จากการร่วมมือร่วมใจของผู้บริหารระดับสูงและพนักงาน ทุกคน ที่มีการวางแผนการรับสถานการณ์น้ำล่วงหน้าจนถึงมีการใช้วิธีการอย่างถูกต้อง และ ทำงานอย่างหนักในการเฝ้าระวังป้องกัน ทำให้น้ำท่วมปี 2554 ซึ่งเป็นปีที่น้ำท่วมบริเวณอำเภอท่าเรือสูงที่สุดในรอบหลายสิบปี ก็ไม่ส่งผลกระทบกับการจัดเก็บวัตถุดิบและการผลิตของโรงงาน แม้ว่าน้ำจะท่วมขังเป็นเวลานานถึง 45 วันก็ตาม
นี่คือ ยุทธิวิธีรับมือกับภัยน้ำท่วมของโรงงานในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่อาจจะทำให้หลายโรงงานที่เจอปัญหาน้ำท่วมในปีนี้เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส คิดแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน พื้นที่ที่แม้จะเป็นทางผ่านน้ำหรือ Flood way ก็อาจจะไม่ต้องเจอปัญหาอย่างหนักหน่วงเช่นในปีนี้
โดย….อภัยชนม์ วัชรสินธุ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านประสานกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์
ที่มา มติชน วันที่ 05 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 11:56:23 น.
Relate topics
- โครงการเชิงรุกพยากรณ์อากาศร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรศูนย์อุตุฯภาคใต้ฝั่ง
- Factsheet "ภาคีหาดใหญ่ ร่วมใจระวังภัยน้ำท่วม" และ "หาดใหญ่เมืองไม่แล้งน้ำใจ"Factsheet จากการดำเน
- เอกสารแนะนำ www.hatyaicityclimate.orgเอกสารแนะนำ www.haty
- วีดิโอ "แผนรับมืออุทกภัยอำเภอคลองหอยโข่ง (ภาคประชาชน)"วีดิโอ "แผนรับมืออุท
- VDO - ACCCRN: Learning from Thailand's Floodsรับชมวิดีโอแนะนำการท
- The impact of a global temperature rise of 4 °C (7 °F) in South East AsiaThe impact of a glob
- โครงการ “การรับมืออุทกภัยเมืองหาดใหญ่ โดยการบูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และชุมชน”เนื้อหา (ไฟล์ scan)
- เอกสารชุดความรู้โครงการวิจัย "ชุมชนกับการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก"เอกสารชุดความรู้ที่ม
- คำศัพท์น่ารู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคำศัพท์น่ารู้ด้านการ
- วิธีการอ่านระดับน้ำของ Staff gateวิธีการอ่านตามภาพเลย
- การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติในบริบทเชิงพื้นที่ผู้เขียน: ณรงค์ คงมา
- รังสีคอสมิกทำให้มีเมฆมากขึ้น ช่วยลดภาวะโลกร้อนอาจจะฟังดูไม่ค่อยเกี
- กฎบัติลัทธิชุมชนเมืองยุคใหม่กฎบัติลัทธิชุมชนเมือ
- การกำหนดมาตรการด้านผังเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาและรับมือภัยธรรมชาติในระดับจังหวัดและอำเภอบทความ “การกำหนดมาตร
- ภาวะโลกร้อนทำให้นกอัลบาทรอสบินได้เร็วขึ้นภาวะโลกร้อนหรือการเป
- ความรู้เรื่องอุตุนิยมวิทยาข้อมูลสำหรับนำเสนอใน
- 1 มกราคม 2555 - ประกาศเตือนภัยน้ำท่วมหาดใหญ่ : ธงเหลือง และ ธงแดงบางพื้นที่1 มกราคม 2555
- การสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความเสี่ยงในอนาคตเอกสารที่น่าสนใจ เรื
- น้ำมา น้ำตาจะไม่ไหล เมื่อทุกหัวใจร่วมไขปัญหาคอลัมน์ คุยกับคอลัมน
- กระบวนการนโยบายสาธารณะ ในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของเมืองหาดใหญ่กระบวนการนโยบายสาธ
- บทเรียนการรับมือ จากบันทึกน้ำท่วมหาดใหญ่ ปี 2543 และ 2553**โดย นพ. อมร รอดคล้
- บันทึกฝนตกหนักที่หาดใหญ่ช่วงนี้ฝนตกหนัก พอฝน
- ความถูกต้องและความเป็นธรรมในการจัดการน้ำท่วมใหญ่: การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของไทยและเยอรมันสุนทรียา เหมือนพะวงศ
- ข้อควรพิจารณา เวลาจะเข้าไปล้างบ้านที่ถูกน้ำท่วมนานๆๆๆๆครับข้อควรพิจารณาเวลาที่
- หาดใหญ่เตือนภัยน้ำท่วมด้วยตนเอง![ คำอธิบายภาพ : DSC
- Hat Yai - Information from ACCCRNHat Yai ![ คำอธ
- รู้สู้ flood ep.2 : 3คำถามยอดฮิต
- รู้สู้ flood ep.1-10c: รู้จักน้ำท่วมให้มากขึ้น
- หาดใหญ่รับมือภัยพิบัติหาดใหญ่รับมือภัยพิบั
- การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นฐานจังหวัดสงขลาจัดทำโดย ภาคีพลเมือง
- น้ำท่วม : วิธีวางกระสอบทราย![ คำอธิบายภาพ : pic
- น้ำท่วม : คู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม จัดทำโดย ม.เชียงใหม่[center]
- น้ำท่วม : วิธีเตรียมน้ำดื่ม"ปลอดภัย" ในภาวะวิกฤตน้ำท่วม**วิธีเตรียมน้ำดื่ม"
- ข้อแนะนำเกี่ยวกับไฟฟ้าในกรณีที่มีน้ำท่วมหรือน้ำท่วมขังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคข
- เรือ จากวัสดุต่างๆโครงงานนิสิต ITE52:
- วิธีป้องกันรถจากน้ำท่วม + ดูแลรถหลังน้ำท่วมที่มา[ http://www.ra
- วิธีทำเสื้อชูชีพ
- ถุงน้ำ อุปกรณ์กั้นน้ำใช้แทนกระสอบทรายที่มา [ https://www.
- วิธีการขับรถในสถานการร์น้ำท่วมจะทำอย่างไรดี กรณีขั

